วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

“เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้” เต้นพบอาหารไม่ปลอดภัยในห้างเพียบ

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ เดินหน้าสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารในห้างโมเดิร์นเทรด ภายหลังจากที่เริ่มมีผลบังคับใช้ฉลากใช้โภชนาการรูปแบบ GDA ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีอาหารที่มี่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยมีทั้งหมดอายุ แสดงฉลากไม่ชัดเจน ไม่มีฉลากภาษาไทย และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้มงวดกวดขัน เพื่อสุขภาวะอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค
      
       วันที่ 23 ก.ย.54 เวลา 11.00 น. ณ โรงแรมสิงห์โกลด์เดิลเพลส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ นำโดย ภญ.ชโลม เกตุจินดา ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้บริโภคฯ, นางสาวจุฑา สังขชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคฯ, นายสุชานนท์ สินธิพันยา ผู้ประสานงาน จ.ตรัง, นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง ผู้ประสานงาน จ.สตูล และนางสาวสิรินนา เพชรรัตน์ ผู้ประสานงาน จ.สุราษฎร์ธานี ร่วมแถลงข่าว ภายหลังที่มีการตรวจพบอาการหมดอายุและฉลากอาหารไม่ถูก้องเป็นจำนวนมากในห้าง ค้าปลีกสมัยสมัย
      
       ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีประกาศใช้ฉลากใช้โภชนาการรูปแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) หรือสัญลักษณ์ทางโภชนาการเพิ่มเติมจาก การแสดงฉลากโภชนาการ โดยแสดงในรูปแบบเป็นค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้เครือข่ายฯ ภาคใต้ได้เฝ้าระวังระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา โดยผลการลงพื้นที่สำรวจในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น เทสโก้โลตัส, ท็อป ซุปเปอร์มาเก็ต และบิ๊กซี ใน 4 จังหวัดคือ สงขลา ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 61 รายการ ประกอบไปด้วยสินค้าหมดอายุ 33 รายการ และพบข้อน่ากังวล ดังนี้
      
       1.ประเด็นการแสดงวันหมดอายุ (ทั้ง 61 รายการ) พบอาหารที่นำเข้าประเภทอาหารเช้าสำหรับเด็กและธัญพืชจำนวนมาก แสดงฉลากวันผลิตและวันหมดอายุที่อ่านยาก เข้าใจวันและเดือนสลับการ ฉลากภาษาไทยน้อยอ่านไม่เข้าใจ ส่วนการแสดงวันหมดอายุมีทั้งภาษาอังกฤษ แลพหลายรายการไม่แสดงวันหมออายุ รวมถึงพิมพ์ด้วยหมึกที่ไม่ถาวร เลอะเลือน
      
       2.ประเด็นข้อความที่สื่อให้เข้าใจว่าเป็นอาหารแนวสุขภาพ เช่น No cholesterol, ปลอดจากสารพิษ 100%
      
       3.ผลิตภัณฑ์อาหารหมดอายุอยู่ในชั้นวางของห้าง จำนวนที่สำรวจ 33 รายการ โดยที่ห้างเทสโก้โลตัส สาขาควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมาพบว่ามีผลิตภัณฑ์ของห้างนำมาลดราคาต่ำมาก ในเงื่อนไขจนกว่าสินค้าจะหมด และพบสินค้าหมดอายุชนิดเดียวกันที่ห้างเทสโก้โลตัสใน จ.ตรัง ด้วย
      
       นอกจากนี้จะพบที่ท็อปส์ ซูปอร์มาร์เก็ต ซึ่งสะท้อนถึงเจตนาของผู้ประกอบการที่มุ่งหวังระบายสินค้าโดยไม่คำนึงถึงผล เสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก แม้ว่าการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่หมดอายุจะมีความผิดตามมาตรา 25 (1), (4) มาตรา 29 (1) และอาจได้รับโทษกรณีฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 61 ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      
       ดังนั้น เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ จะดำเนินการส่งต่อเรื่องไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินการต่อโดยเรียกร้องให้ 1.ห้างค้าปลีกดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หมดอายุอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแล และมีมาตรการที่ชัดเจนในการบังคับตามกฎหมาย รวมทั้งให้ฉลากภาษาไทยที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เช่น วันหมดอายุ 30 เมษายน 2554 และไม่ควรมีผลิตภัณฑ์ที่ใกล้หมดอายุภายใน 3 เดือน
      
       2.ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เร่งดำเนินการออกประกาศบังคับใช้ฉลากโภชนาการ GDA ร่วมกับฉลากสัญญาณไฟจราจรโดยด่วน บนผลิตภัณฑ์อาหารและขนมชนิดต่างๆ เพื่อบ่งบอกถึงสารอาหารต่างๆ ให้ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากมีแนวโน้มการบริโภคอาหารเช้าประเภทซีเรียลในเด็กมีสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อภาวะโรคอ้วน ความดันในอนาคต
      
       ทั้งนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคฯ เสนอให้มีการจัดเวทีพูดคุยกับสาธารณสุขจังหวัด ผู้ประกอบการห้าง องค์กรท้องถิ่น ประชาคมภาคประชาชน เพื่อจัดทำข้อเสนอให้เกิดการบังคับใช้ติดตามการละเมิดสิทธิผู้บริโภค และหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบัญญัติก็จะมีการดำเนินการโดยเด็ดขาด เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ไม่อาจจะส่งผลอันตรายดัง ที่ได้ตรวจพบข้างต้นต่อไป
ข้อมูลจาก...ผู้จัดการ ออไลน์

ไม่มีความคิดเห็น: